Friday, March 14, 2014

วิธีปรับตัวรับปัญหาหมอกควัน

ภาพจาก manager.co.th
วันนี้ผมได้อ่านข่าวทราบว่าเชียงใหม่กำลังเผชิญกับปัญหาหมอกควันดังนี้...
สภาพตัวเมืองเชียงใหม่วันนี้ (15 มี.ค.) ยังคงถูกปกคลุมด้วยหมอกควันทั่วทั้งตัวเมืองต่อเนื่องกันมานานนับสัปดาห์แล้ว โดยที่รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษเมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ พบค่าเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) มีค่าสูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดให้ไม่เกิน 120 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และ 100 ตามลำดับ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาหลายวันแล้วในช่วงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา...
หันกลับมาดูที่ลำปางบ้าง ครูหนิงเพิ่งคุยให้ผมฟังว่า "ช่วงนี้อากาศออกไปในแนวไม่ค่อยจะเข้าท่าเท่าไหร่...แสบตาไปหมด"  

จริง ๆ ด้วย!!  ขอนำภาพที่ผมถ่ายจากดาดฟ้ามาให้เพื่อนดู...


แต่ก็ยังดีกว่าที่อินโดนีเซีย เมื่อภูเขาไฟพ่นพิษไม่นานมานี้...

ภาพจากอินเทอร์เน็ต
ทำให้ "ยอกยาการ์ตา (Yogyakarta)" (เมืองที่ผมอยากไป) เจอกับปัญหาที่เลวร้ายกว่าบ้านเรามากมายหลายเท่านัก...

ภาพจากอินเทอร์เน็ต


      วันนี้ขอนำ "วิธีปรับตัวรับปัญหาหมอกควัน" มาฝากดังนี้....
    สำหรับข้อแนะนำเพื่อป้องกันปัญหาจากหมอกควันนั้นได้แก่ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละออง ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละออง ควรใช้หน้ากากอนามัยชนิดกรอง 3 ชั้นปิดปากและจมูก เพราะจะช่วยป้องกันฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอนได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 ที่สามารถกรองฝุ่นละอองที่มีขนาดตั้งแต่ 0.3 ไมครอนได้ ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน และถ้าเป็นไปได้ควรใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง เพื่อสุขลักษณะที่ดี
     
              หากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองติดต่อกันยาวนาน เช่น เกินกว่าสัปดาห์ หรือเดือน ควรเตรียมความพร้อมด้านการกรองอากาศในที่อยู่อาศัย เช่น ติดระบบกรองอากาศในบ้าน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของฝุ่นต่อร่างกายได้ โดยเลือกใช้ระบบกรองอากาศที่เหมาะสม และสามารถถอดล้างได้ในระยะยาว สำหรับบริเวณพื้นที่ว่างเปล่าควรปลูกพืชคลุมหน้าดินไว้ เพื่อลดโอกาสที่ฝุ่นละอองจะลอยฟุ้งขึ้นมาในอากาศได้ 

              สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคความดัน โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ควรเตรียมยาประจำตัวให้พร้อมและพกติดตัว เพื่อป้องกันและใช้รักษาเมื่ออาการกำเริบ หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ควรรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
ที่มา : health.kapook.com (ขอขอบคุณ)

จะบอกให้รู้ว่าเป็นห่วงนะ!! 

No comments: