Friday, September 06, 2019

วัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี

ถึงจะไปมาแล้วสองครั้ง...ผมก็ยังคิดอยากไปอุบลฯ อีก จากช่องเม็กอยากปั่นไปจำปาสัก แวะเยี่ยม ฝ้าย ช่างคำ และ อาจารย์หมู อีกสักครั้ง ก่อนเดินทางต่อไปยังเขมร... 


ยังคงรักเมืองดอกบัวงามอยู่เหมือนเดิมครับ ช่วงที่ถูกน้ำท่วมก็เป็นห่วงมาก ๆ ถ้าได้ไปอีกครั้ง ผมจะต้องอยู่ให้นานกว่าเดิม อาจจะปั่นจักรยานไปขอพักอยู่ที่ราชธานีอโศก และไปเยี่ยมวัดป่านานาชาติให้ได้...


เว็บ watpahnanachat.org กล่าวว่า...
วัดป่านานาชาติ เป็นวัดป่าสายวัดหนองป่าพง ที่ตั้งอยู่ในบ้านบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยมีหลวงปู่ชา สุภทฺโท (พระโพธิญาณเถร) จากวัดหนองป่าพงเป็นผู้ก่อตั้ง
วัตถุประสงค์แรกเริ่มของหลวงปู่ชา ที่ตั้งวัดป่านานาชาติขึ้น คือการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยเป็นภาษาอังกฤษ จนสามารถที่จะออกบวชเป็นพระภิกษุและปฏิบัติตามข้อวัตรสายวัดป่าได้...
ทางวัดยังทำหน้าที่ในการแปลและแจกหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ออกไปสู่ระดับสากล รวมถึงบทเรียนธรรมศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการสอนพระปริยัติธรรมเบื้องต้นแก่พระภิกษุสามเณรชาวต่างชาติ ตามปกติวัดป่านานาชาติยังเป็นสถานที่สำหรับให้นักเรียน นักศึกษา ชาวบ้าน บุคคลทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่มีความสนใจในพระพุทธศาสนา ได้สดับฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล และสนทนาธรรมโดยตลอดเรื่อยมา พร้อมทั้งมีการจัดห้องสมุดทางพระพุทธศาสนา
ลำดับเจ้าอาวาสจากอดีต – ปัจจุบัน
๑) พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ชาวอเมริกัน พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๑๙
๒) พระอาจารย์ปภากโร ชาวอเมริกัน พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๑
๓) พระอาจารย์ชาคโร ชาวออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๒๒ – ๒๕๒๔
๔) พระอาจารย์ปสันโน ชาวแคนาดา พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๓๙
๕) พระอาจารย์ชยสาโร ชาวอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๔
๖) พระอาจารย์ญาณธัมโม ชาวออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๕๐
๗) พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮ็นนิ่ง เกวลี) ชาวเยอรมัน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน
ผมมีแผ่นพับ The International Forest Monastery Wat Pan Nanachat ซึ่งได้รับตอนไปเยือนอุบลราชธานีอยู่ด้วย ขออนุญาตสแกนมาให้เพื่อน ๆ ดูดังนี้...



Wat Pah Nanachat is a Buddhist monastery in Northeast Thailand, in the Theravada Forest Tradition. It wa established by Ajahn Chah to provide English-speaking people the opportunity to train and practice in the way the Buddha taught his monks in the forests 2600 years ago.

No comments: