"หีดธรรม" เป็นภาษาล้านนา หมายถึงตู้ใส่พระธรรมคัมภีร์ ในภาคกลางก็คือ "ตู้พระธรรม" หรือ "ตู้พระไตรปิฏก"
อ่านหน่อยน้า ผมพิมพ์ให้จดปวดตา อิอิ...
"หีบธรรม" หรือ "หีดธรรม" ในภาษาล้านนา เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฏกคล้ายกับตู้พระธรรม หรือตู้พระไตรปิฏกในภาคกลาง แต่มีความแตกต่างกันคือ ตู้พระธรรมจะเปิดทางด้านหน้าในขณะที่หีบธรรมจะเปิดทางด้านบน จากหลักฐานงานศิลปกรรมประเภทหีบธรรมหลาย ๆ ชิ้นที่พบในจังหวัดลำปาง สะท้อนให้เห็นปณิธานและความศรัทธาอันแรงกล้างของชาวลำปางที่มีต่อพระพุทธศาสนา ดังเห็นได้จากความพิถีพิถันในการสร้างหีบธรรมที่มีการประดับตกแต่งอย่างสวยงามวิจิตรบรรจง อันเป็นการแสดงถึงจิตวิญญาณและความเชื่อของช่างอย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิดความศรัทธาในพระธรรมคำสั่งสอนมากขึ้น
นอกเหนือไปจากเนื้อหาสาระของพระธรรม รูปแบบของหีบธรรมที่พบในวัดปงสนุกเหนือและวัดปงสนุกใต้ มีลักษณะเป็นกล่องการสวมเข้าเดือย มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนมากนัก เพื่อเน้นเรืองความแข็งแรง และประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก โดยอาจแยกออกเป็นส่วนตัวหีบและส่วนฐานหีบ นิยมลงรักปิดทองล่องชาดตกแต่งด้วยลวดลายหรือภาพต่าง ๆ หรือบางหีบประดับตกแต่งด้วยกระจกสี ซึ่งลักษณะหีบดังกล่าวเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในล้านนาและนิยมเรียกหีบธรรมทรงนี้ว่า ทรงลุ้ง ประดับตกแต่งด้วยลวดลายที่สวยงามอันเป็นลักษณะของหีบธรรมที่พบในเมืองลำปาง เช่น ภาพเล่าเรื่อง พบว่านิยมเขียนภาพพุทธประวัติ ภาพกลุ่มบุคคลและเทวดา กลุ่มลวดลายมงคล สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการประดับตกแต่ง อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ เทคนิค เทคนิคลงรักปิดทองล่องชาด และเทคนิคลงรักปิดทองประดับกระจก...
ภาพเหล่านี้เก็บมาจากศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุ วัดปงสนุกเหนือ...
มีโอกาส... เพื่อน ๆ อย่าลืมแวะมาดูหีดธรรมที่วัดปงสนุกเหนือนะครับ
No comments:
Post a Comment