วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2528 สก๊อต สมิธ หนุ่มชาวอังกฤษวัย 29 ปี ได้เริ่มต้นการปั่นจักรยานผ่านยุโรปมุ่งหน้ามายังทวีปเอเซีย โดยมีเป้าหมายที่จะหาทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กในโครงการรณรงค์ต่อต้านโรคไขสันหลังอักเสบหรือที่เรียกกันว่าโปลิโอ เขาทำระยะทางได้ประมาณ 13,000 กิโลเมตร ก่อนที่จะเข้าถึงเมืองไทยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530
เมื่อครั้งเป็นเด็ก สก๊อตพิการ ไม่สามารถจะเดินได้เพราะโรคเท้าช้าง พ่อแม่ต้องพาเขาอพยพจากแคนนาดาไปอยู่ประเทศอังกฤษ เพื่อให้สก๊อตได้เข้ารับการรักษาที่ดีกว่าในโรงพยาบาลเป็นเวลาถึงหนึ่งปี ช่างเหมือนปาฏิหาริย์ เมื่อปรากฏว่าเขาหายเป็นปกติ ตั้งแต่นั้นมาเขาจึงตั้งใจว่าเมื่อโตขึ้น เขาจะต้องหาทางช่วยเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับเขาให้ได้ และแล้วความฝันของเขาก็เป็นจริงขึ้นมา สก๊อตกล่าวว่า "โรคโปลิโอเป็นโรคที่รักษาได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ทุกวันนี้เด็ก ๆ ในประเทศด้อยพัฒนากำลังเผชิญกับภาวะอาหารขาดแคลน ข้าวยากหมากแพง และความแห้งแล้ง ผมอยากจะช่วยเขาเหล่านั้นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" สก๊อตเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการเดินทางของเขาว่า "จากลอนดอน ผมปั่นจักรยานเข้าฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สักแซมเบิร์ก เยอรมันตะวันตก ออสเตรีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย บัลกาเรีย กรีซ ตุรกี อิหร่าน จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย อาบูดาบี ดูไบ จากนั้นจึงนั่งเรือมายังปากีสถาน แลัวขี่จักรยานต่อเข้าอินเดีย บังคลาเทศ และมาถึงเมืองไทย"
แม้ว่าก่อนหน้าการเดินทางครั้งนี้ สก็อตได้อุ่นเครื่องมาก่อนแล้วด้วยการปั่นรอบ ๆ ยุโรปตะวันตก แต่เขาก็ยังขาดประสบการณ์ในการเดินทางไกลอย่างเช่นครั้งนี้ เขาเล่าว่า "ผมคิดผิดที่เอาข้าวของมาด้วยมากเกินไป ทั้งเสื้อผ้า หนังสือ เครื่องครัวพวกกระทะและเตา ทั้งผ้าห่มผืนใหญ่ ถุงนอน และยา ตอนหลังผมให้เขาไปหมด เหลือแค่เสื้อยืด 4 ตัว กางเกงขาสั้น 2 ตัว และพวกเอกสารเท่านั้นที่มีมากหน่อย" สำหรับคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่พัก เขาตอบว่า "ผมนอนในป่า เกสท์เฮาส์ ตามบ้านคนท้องถิ่น ทำให้ได้ประสบการณ์มากมาย"
คุณสมิธเล่าถึงประสบการณ์ที่ลืมไม่ลงว่า "ในยูโกสลาเวีย ซึ่งเป็นประเทศที่สวยงามแต่หนาวจัด ผมได้เรียนรู้ถึงวิธีการสร้างกระท่อมน้ำแข็ง (igloo) แบบที่พวกแอซคีโมเค้าอยู่กัน ช่วงจากดูไบไปการาจี ผมมีตั๋วเครื่องบิน แต่ผมก็เลือกที่จะเดินทางด้วยเรือสินค้าแบบโบราณที่มีชื่อเรียกว่า 'dhow' ทีแรกเค้าก็ไม่ยอมให้ผมลงเรือด้วย เพราะว่าช่วงนั้นมีสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่านพอดี อันตรายมากเพราะมีการยิงกันหนักในแถบอ่าว แต่พอกัปตันรู้ว่าผมเดินทางมาแบบนี้เพื่อช่วยหาทุนให้เด็ก ๆ ก็เลยยอมอนุโลมให้อาศัยมา ผมต้องนอนบนดาดฟ้าเรือ มีท้องฟ้าเป็นหลังคา กินแต่ปลาวันละสามมื้อ ไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษได้สักคน แต่ก็ไปกันได้ดี …………."\
เป็นเรื่องราวของนักปั่นท่องโลกที่ผมนำจาก wichai.net มาเก็บไว้ที่นี่ครับ...
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา - "Round-the-world cycling for children" เขียนโดย Siriporn Srethapramote หนังสือ Student Weekly
No comments:
Post a Comment