ลงมือทำอีกครั้ง ผมต้องซ่อมหัวยิงแก๊สก่อน ด้วยการใช้เศษท่อทองแดงใส่แทนหัวที่หลุดออกไป...
ก็แค่พอใช้ได้ แม้เปลวไฟจะออกมาไม่รวมจุดแต่ก็ช่วยให้ผมรนจนลวดเชื่อมละลายแล้วใช้ปลายมีดอัดเข้าไปในรู จากนั้นก็โปะเข้าไปอีก จนคิดว่าน่าจะไม่รั่วแล้ว ผมเริ่มมั่นใจหลังจากเดินเครื่องแล้วทดสอบด้วยน้ำสบู่ไม่ปรากฏฟอง...
พอดีผมต้องผสมกาวอีพ็อกซี (epoxy glue) เพื่อใช้ติดรอยแตกของลิ้นชักใต้ช่องฟรีซตู้เย็น ก็เลยเอาส่วนผสมที่เหลือมาทาทับบนแผลที่เชื่อมเอาไว้...
ปล่อยทิ้งไว้ ๒๔ ชั่วโมงแล้วค่อยทำความสะอาด...
น่าจะไม่รั่วแล้วมั้ง? ผมเริ่มขบวนเติมน้ำยาอีกครั้ง...
ลืมบอกไปว่าต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเติมน้ำยาซึ่งเอาอย่างถูกสุดเลยดังนี้...
- เกจวัดและเติมน้ำยาพร้อมสาย ๒ เส้น เอาแบบหัวเดียวถูกสุด (ราคา ๔๙๙ บาท)
- น้ำยาแอร์ R134A ขนาด ๑,๐๐๐ กรัม พร้อมหัวเปิดน้ำยา (ราคา ๒๘๙ บาท)
เกจเติมน้ำยา - ภาพจาก shopee.co.th (ขอขอบคุณ) |
ทีนี้ก็ต้องมีเจ้าเครื่องแวคคั่มสำหรับใช้ดูดอากาศออกจากระบบ ก่อนเติมน้ำยาตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศ
เครื่องแวคคั่ม - ภาพจาก shopee.co.th (ขอขอบคุณ) |
แล้วก็มีจริง ๆ ผมต่อสายมาใช้เป็นเครื่องดูดอากาศ เดินเครื่องจนเข็มวัดแรงดันลดลงเป็น 30 psi จากนั้นก็เติมน้ำยาตามขั้นตอนของมัน ให้คอมฯ ทำงานแล้วเปิดน้ำยาอีก ๒-๓ ครั้งจนเข็มนิ่ง ไม่นานนักตู้เย็นก็เริ่มเย็น...
ไม่รู้ว่าน้ำยาจะรั่วออกอีกหรือเปล่า? ผมเก็บเครื่องมือและของเหลือใช้ งานนี้หมดไปเป็นพัน แต่ก็เหลือของเก็บเอาไว้ใช้งานได้อีกหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาสำหรับเติมตู้เย็น เครื่องปรับอากาศบ้านและรถยนต์ ส่วนเครื่องมือก็ใช้ตรวจเช็คน้ำยาแอร์ได้...ไม่ต้องเรียกช่าง หรือจะซื้อแอร์ใหม่เป็นชุดมาติดตั้งเองก็น่าจะทำได้!
เห็นว่าตู้เย็นทำงานแล้ว ผมก็จัดการล้างทำความสะอาด...
ประกอบแล้ว...
ไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะเย็นอีกนานแค่ไหน? อิอิ
1 comment:
นักแก....เป็นเหียปัดตกปัดเซี้ยง
Post a Comment