"Rim Brake" คือห้ามล้อชนิดกดกับขอบวงล้อ ก่อนสั่งซื้อเฟรมสำหรับจักรยานคันใหม่ ผมรู้แล้วว่ารถผมจะต้องใช้ระบบห้ามล้อชนิดนี้...
ส่วนดิสเบรค (Disc Brake) นั้นพัฒนาจากระบบห้ามล้อด้วยการหนีบที่ขอบล้อ (Rim Brake) มาหยุดการหมุนที่ดุมล้อ (Hub Brake) แทน ที่บ้านผมมีจักรยานใช้ disk brake อยู่คันเดียวคือ "เจ้าทัสซูเฮะ"
GCN Tech Show ได้สรุปข้อดี-ข้อเสียระหว่างริมเบรคกับดิสก์เบรคไว้ดังนี้...
ขอขอบคุณข้อมูลจากเฟสบุ๊ค Food Fit For Fine ไม่ว่าแบบไหนจะดีกว่ากันอย่างไร ผมก็ต้องใช้ริมเบรคอยู่แล้ว อยากเลือกใช้ริมเบรคเพราะดูแลง่ายดี! ที่นี้ผมก็ต้องทำหน้าที่หาก้ามเบรคให้เจ้ายักษ์ขาว...
- น้ำหนัก - ริมเบรคจะเบากว่าราว ๆ ครึ่งกิโล
- ความนุ่มนวล - ขึ้นอยู่กับจักรยานแต่ละรุ่น
- การตอบสนอง - จักรยานรุ่นเดียวกัน รถดิสก์เบรคจะไม่ปราดเปรียวเท่ารถริมเบรค
- ประสิทธิภาพการหยุดรถ - ดิสก์เบรคหยุดรถได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางลงเขาคดเคี้ยว และ/หรือ ถ้ามีฝนตกถนนเปียก ดิสก์เบรคดีกว่าริมเบรคชัดเจน ดิสก์เบรคชะลอรถตอนใกล้หัวโค้งได้ดีกว่าด้วย
- การเดินทาง - ริมเบรคแพ็คง่ายกว่าดิสก์เบรค
- การบำรุงรักษา - ริมเบรคง่ายกว่าดิสก์เบรคแต่ต้องทำบ่อยกว่า ดิสก์เบรคได้เปรียบเรื่องการไม่สึกของขอบล้อ
ในเว็บมีให้เลือกซื้อทั้งของใหม่และมือสอง ของดีหน่อยก็ต้องเป็น Shimano หรือ Sram ราคาคู่ละเป็นพันครับผม
จักรยาน Giant SCR 1 ซึ่งประกอบมาทั้งคันใช้ brake set ยี่ห้อ TEKTRO ครับ...
ภาพจากร้านค้าออนไลน์ - ขอขอบคุณ |
ภาพจากร้านค้าออนไลน์ - ขอขอบคุณ |
ช่างเหอะไม่ได้เลือกใช้ของแพง อยากลองยี่ห้อ Racework (ราคาคู่ละ ๕๐๑ บาท) ผลิตในใต้หวันดูก่อน อีกหน่อยถ้าไม่ดีพอก็ค่อยเปลี่ยนตอนออกเดินทาง...
ก้ามเบรคที่สั่งมาถึงแล้วครับ ดู ๆ แล้วผมว่างานดีทีเดียว!
ส่วนน้ำหนักก็พอไหว ชั่งรวมกันหน้าหลังได้ ๔ ขีด...
มาถึงตอนนี้ ผมเกรงว่าจะทำน้ำหนักเจ้ายักษ์ขาวให้เหลือตัวเลขตัวเดียวไม่ได้แล้วล่ะ!
No comments:
Post a Comment