Saturday, December 12, 2020

สอนดนตรีสไตล์ลุงน้ำชา (ฮา ๆ)

วันนี้น้องแก้มใสไม่มาเรียนไวโอลิน แต่สองพี่น้อง โอปอ-อั่งเปามาเรียนเปียโนตามปกติ เด็กขยันครับ มาตั้งแต่ยังไม่บ่ายโมง มาถึงก็เปิดไฟเปิดเครื่องเองแล้วลงมือซ้อม warm up

 
ผมใช้ตำราของ Alfred มีเปียโนไฟฟ้าสองเครื่อง นักเรียนจึงเรียนพร้อมกันได้ วันนี้นึกสนุก อยากอัพโหลดวิดีโอการสอนเปียโนสไตล์ลุงน้ำมาให้เพื่อน ๆ ดูเล่นขำ ๆ ดังนี้...
 

นักเรียนซ้อมพอเล่นได้บ้างแล้ว ก็มีคอนเสิร์ทของครูและนักเรียน โดยมีน้องโอปอเป็นช่างกล้อง...

สนุกสนานกันตามประสา ฮา ๆ แถมปลาส้มกลับบ้านไปอีก ๑ ชิ้น อิอิ

Saturday, December 05, 2020

แค่ครึ่งวันเอง

FB Trip (ทดสอบเจ้าทัสซูเฮะ) ครั้งล่าสุด รวม ๓ คืน ๔ วัน (วันที่ ๑๙ - ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓)  ผมทำประกันเดินทาง (Travel Insurance) คุ้มครองในประเทศไว้ ๑๐ วัน แต่ดันไปไม่ครบตามเป้าหมาย! 
 
  
ปั่นไปไกลสุดแค่น้ำตกหมอกฟ้า อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยที่ ๕

 
กลับมาแม่มาลัยแล้วไปเขื่อนแม่งัด...

ถ่ายภาพได้มากกว่าพันบาน (ไม่อยากนับแล้วล่ะ) เฉพาะการเดินทางครึ่งวันแรกจากบ้านหนองหอยไปวัดหนองบัวหลวง ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง ระยะทางประมาณ ๖๐-๗๐ กิโลเมตร ผมมีโอกาสได้แวะเยือนวัดวาอารามดังต่อไปนี้...

  1. วัดป่าแพ่ง
  2. วัดป่าตัน
  3. วัดเมืองลัง
  4. วัดบ้านท่อ
  5. วัดปิยาราม
  6. วัดเจดีย์สถาน 
  7. วัดสุวรรณาวา (นาหืก) 
  8. วัดสะลวงนอก 
  9. วัดประกาศธรรม
  10. วัดสันป่าตึง
  11. วัดสันป่ายาง
  12. วัดม่อนผาแดง
  13. วัดหนองบัวน้อย 
  14. วัดหนองบัวหลวง

วันแรกผมใช้เงินไป ๑๓๐ บาท เป็นค่าเครื่องดื่มและทำบุญช่วยค่าน้ำค่าไฟวัด

 

ใช้เวลาท่องเที่ยวประมาณ ๖ ชั่วโมง ผมมีเรื่องเขียนลงบล็อกได้ ๓๐ กว่าตอน ถ้าเป็น final trip ในปี ๒๕๖๖ ด้วยระยะทางที่ไม่สิ้นสุด ไม่กำหนดเวลา กับเงินทุนก้อนสุดท้ายจำนวน ๓ แสนบาท ไม่รู้เหมือนกันว่าผมจะมีเรื่องราวและประสบการณ์มาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังอีกมากแค่ไหน?

น่าสนใจนะ...โดยเฉพาะยิ่งคือฉากสุดท้าย (the last curtain)

Sunday, November 29, 2020

หีดธรรม ที่วัดปงสนุกเหนือ


"หีดธรรม" เป็นภาษาล้านนา หมายถึงตู้ใส่พระธรรมคัมภีร์ ในภาคกลางก็คือ "ตู้พระธรรม" หรือ "ตู้พระไตรปิฏก"

อ่านหน่อยน้า ผมพิมพ์ให้จดปวดตา อิอิ...

"หีบธรรม" หรือ "หีดธรรม" ในภาษาล้านนา เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฏกคล้ายกับตู้พระธรรม หรือตู้พระไตรปิฏกในภาคกลาง แต่มีความแตกต่างกันคือ ตู้พระธรรมจะเปิดทางด้านหน้าในขณะที่หีบธรรมจะเปิดทางด้านบน จากหลักฐานงานศิลปกรรมประเภทหีบธรรมหลาย ๆ ชิ้นที่พบในจังหวัดลำปาง สะท้อนให้เห็นปณิธานและความศรัทธาอันแรงกล้างของชาวลำปางที่มีต่อพระพุทธศาสนา ดังเห็นได้จากความพิถีพิถันในการสร้างหีบธรรมที่มีการประดับตกแต่งอย่างสวยงามวิจิตรบรรจง อันเป็นการแสดงถึงจิตวิญญาณและความเชื่อของช่างอย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิดความศรัทธาในพระธรรมคำสั่งสอนมากขึ้น
นอกเหนือไปจากเนื้อหาสาระของพระธรรม รูปแบบของหีบธรรมที่พบในวัดปงสนุกเหนือและวัดปงสนุกใต้ มีลักษณะเป็นกล่องการสวมเข้าเดือย มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนมากนัก เพื่อเน้นเรืองความแข็งแรง และประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก โดยอาจแยกออกเป็นส่วนตัวหีบและส่วนฐานหีบ นิยมลงรักปิดทองล่องชาดตกแต่งด้วยลวดลายหรือภาพต่าง ๆ หรือบางหีบประดับตกแต่งด้วยกระจกสี ซึ่งลักษณะหีบดังกล่าวเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในล้านนาและนิยมเรียกหีบธรรมทรงนี้ว่า ทรงลุ้ง ประดับตกแต่งด้วยลวดลายที่สวยงามอันเป็นลักษณะของหีบธรรมที่พบในเมืองลำปาง เช่น ภาพเล่าเรื่อง พบว่านิยมเขียนภาพพุทธประวัติ ภาพกลุ่มบุคคลและเทวดา กลุ่มลวดลายมงคล สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการประดับตกแต่ง อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ เทคนิค เทคนิคลงรักปิดทองล่องชาด และเทคนิคลงรักปิดทองประดับกระจก...

 

 
 


 



 

ภาพเหล่านี้เก็บมาจากศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุ วัดปงสนุกเหนือ...


มีโอกาส... เพื่อน ๆ อย่าลืมแวะมาดูหีดธรรมที่วัดปงสนุกเหนือนะครับ

Friday, November 27, 2020

A stroll on the dam

 

๒๑ พ.ย. ๒๕๖๓ เวลาประมาณ ๖ โมงเช้า... จากจุดเริ่มต้นบนสันเขื่อนแม่งัด (1) ผมมองไปยังจุดสิ้นสุดฝั่งตรงกันข้าม (2) ด้วยความรู้สึกสับสน!

 
ที่ผ่านมาเคยเอาแค่รถขึ้นวิ่งบนสันเขื่อน ถ้าเดินด้วยเท้าก็มีเพียงระยะสั้น ยังไม่เคยเดินจนสุดระยะ  มองตรงไปยังจุดปล่อยน้ำ (water dischare point) และโรงไฟฟ้าที่อยู่ไกลตา ถามตัวเองว่าจะเดินไหวหรือเปล่า? 
 
 
ไปถึงจุดหมายแล้วก็ต้องเดินกลับ    distantly, ไม่รู้ว่าไกลเท่าใด?  เหาะกลับไม่ได้! มองไปข้างหน้าเห็นมีคนอยู่บนถนนตัวเท่ามด!!
 
 
ตัดสินใจว่าไปก็ไป ผมออกก้าวเดินจนถึงแล้วได้หยุดคุยด้วย...

 
เป็นนักปั่่นจักรยานจากช่อแลหมู่บ้านข้างล่างนี่เอง คงจะจับกลุ่มกันออกกำลังทุกเช้าเย็น ปั่นขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์บนสันเขื่อนแม่งัด เมื่อเย็นวานก็สวนกันตอนเค้าปั่นลงไปจากเขื่อน มีคนนึงถามว่า "ลุงที่ปั่นรถพับหรือเปล่า?" ผมถือโอกาสเก็บภาพจักรยานของเขาไว้

 
 
 
ก่อนที่จะก้าวเดินต่อไป  เลี้ยวโค้งแล้วตรงไปข้างหน้า มองเห็นท้องฟ้ากำลังทอแสง...
 
 

ในที่สุดก็ทำได้สำเร็จ ถึงจุดหมายตรงปลายเขื่อน....

เก็บภาพอย่างไม่ยั้งมือ...





 
ขากลับได้เห็นหนุ่มสาวขึ้นมาเดินออกกำลังบนสันเขื่อน
 
 

เจ้านกขมิ้นรู้สึกอิจฉาเป็นยิ่งนัก!!

Wednesday, November 25, 2020

final trip - บทเรียนที่ต้องนำมาใช้

เพื่อน ๆ ที่รักครับ วันนี้ผมอยากแสดงความคิดเห็นว่า การปั่นจักรยานทางไกลขึ้นเขาลงดอยพร้อมกับสัมภาะเต็มพิกัดนั้น การใช้รถที่มีประสิทธิภาพสูงพอที่จะรองรับได้นั้นนับเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง



ทัสซูเฮะเป็นจักรยานพับที่มี ๒๗ สปีดก็จริง แต่ด้วยน้ำหนักคนขี่กับสัมภาะมากมาย ทำให้เวลาขึ้นทางชัน (uphill) ลำบากมาก บางครั้งต้องลงจูง หยุดพักเป็นระยะ ๆ และไม่สามารถควบคุมแฮนด์รถให้ตรงได้เมื่อวิ่งด้วยความเร็วต่ำ ผมยังไม่ขอพูดมาก เรื่องจักรยานที่จะใช้สำหรับ final trip จากนี้ไปคงเป็นเรื่องที่จะต้องนำมาพิจารณาให้ละเอียดอีกครั้ง...

ที่อยากคุยด้วยก่อน คือเรื่องของใช้ที่ไม่จำเป็นบางอย่าง ซึ่งต้องคัดออกมาจาก gear list  อย่างแรกคือเป้บรรจุน้ำครับ...

 
สวมใส่และบรรจุน้ำดื่ม ๒ ลิตรไปด้วยก็หาได้ใช้ไม่ แถมยังทำให้ร้อน และเกะกะเสียมากกว่า ส่วนเจ้าที่กรองน้ำ (ตัวไม่ใหญ่) เอาไปด้วยก็ไม่เป็นไร แม้จะหาน้ำดื่มสะอาด ๆ ได้ตลอดเส้นทาง แต่เวลาไปแวะพักตามป่าเขา มีไว้ก็ยังดี...
 

ทีนี้มาถึงเรื่องกล้องถ่ายรูป แม้ผมจะใช้กล้อง compact ขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ ที่ชาร์จ ฯลฯ อยู่ไม่น้อย ยิ่งจะพกเครื่องมือสื่อสาร จีพีเอส โน้ตบุ็ค เตาหุงต้ม ฯลฯ ไปอีก ก็ยิ่งต้องอาศัยพื้นที่จัดเก็บ ทางที่ดี ถ้าสามารถรวมทุกอย่างไว้ในมือถือตัวเล็กกับที่ชาร์จเพียงตัวเดียวก็น่าจะดีกว่า

เสื้อผ้าก็เช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นก็อย่าเอาไปมาก เพราะเอาเข้าจริง ๆ แล้วก็อาจไม่ได้ใช้ทั้งหมด!

ได้รับบทเรียนจากการเดินทาง ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับ final trip ของผม คงต้องใช้เวลาอีกนานครับ! 

It's a must!

สิ่งสำคัญพึงปฏิบัติภายหลังการเดินทางรอนแรมท่องเที่ยวมาแล้วก็คือ "การนำอุปกรณ์แค้มปิ้งออกทำความสะอาดและตากแดดไล่ความชื้น" ก่อนนำเก็บไว้ใช้ในทริปต่อไป... 

แม้ว่าจะผึ่งแดดตอนเก็บลงถุง ณ ที่พักแรม มาก่อนแล้วก็ตาม


 
 

ถึงบ้านแล้วให้รื้อของจากเป้และ panniers ออกหมด

สิ่งที่ต้องทำ (a must) คือนำอุปกรณ์แค้มปิ้ง (camping gear) ออกตากแดด (แม้จะช้าไปวันสองวันก็ยังดี!)


สำรวจดูด้วยนะครับว่านำกลับมาครบถ้วนหรือไม่?

Saturday, October 31, 2020

final trip - เตรียมเป้บรรจุน้ำ

ขอบคุณเพื่อน ๆ ที่เข้ามาอ่านเรื่องที่ผมเขียน เมื่อวานนี้คุยว่าได้เตรียมเครื่องกรองน้ำแบบพกพาไว้แล้ว...

 

ผมเคยกล่าวถึง"ข้อผิดพลาด" ในการปั่นจักรยานจากไซยะบูลีไปเมืองหงสาว่ามีอยู่ ๒ ข้อด้วยกันคือ  ๑) ไม่ได้ศึกษาเรื่องเส้นทางจากไซยะบูลี-หงสาให้ดีเท่าที่ควร และ ๒) ผมประมาทในเรื่องเสบียงอาหารและน้ำดื่ม


ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะทำได้ ผมออกเดินทางจากไซยะบูลีตั้งแต่ ๖ โมงเช้า โดยกินอาหารแค่เพียงนมถั่วเหลือง ๑ กล่องกับซาลาเปา ๒ ลูก ผิดพลาดตั้งแต่เริ่มออกปั่นแล้ว ระยะทางขึ้นเขาลงเขาเกือบ ๙๐ กิโลเมตร...ดันกินอาหารเช้าแค่เนี้ย!!


เมื่อปั่นถึงบ้าน Pakthiao  เสบียงก็หมด  ผมกระหายน้ำมาก ต้องแวะกินน้ำส้มและน้ำมะพร้าวเย็น ๆ ๒ ขวดเล็ก (๒,๐๐๐ กีบ)...


ข้อผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัยอีกข้อคือ..ไม่ได้ซื้อน้ำติดตัวไปด้วยอีกสัก ๑ ขวดใหญ่ ด้วยคิดว่าจะเจอหมู่บ้านอยู่ข้างหน้า...


ทั้ง ๆ ที่ร้านค้าตรงนี้เป็นจุดสุดท้ายที่จะซื้อเสบียงตุนไว้ก่อนขึ้นเขาไปอีกด้วยระยะทางไม่รู้จักจบจักสิ้น!!


จากไซยะบูลี (1) เดินทางได้ ๒ ใน ๓ เหลืออีกแค่ ๓๕ กิโลเมตรจะถึงเมืองหงสา (3) ดันไปหมดแรงข้าวต้มอยู่บนภูสูง (2)


อยากให้เพื่อน ๆ ได้เห็นระดับความสูงที่ผมต้องไต่ขึ้นไป...


ไม่มีน้ำดื่มก็เปรียบได้กับรถที่หมดน้ำมัน ผมจะจูงจักรยานก้าวไปข้างหน้าก็แทบไม่ไหว!! 

ด้วยบทเรียนนี้...ผมจึงต้องเตรียมเป้บรรจุน้ำดื่มไว้สำหรับ final trip อีก ๑ ใบ

ยี่ห้อ Topspeed ครับ...

 

บรรจุน้ำได้ ๒ ลิตร...


คราวหน้าตาแก่เมืองรถม้าไม่อดน้ำแล้วจ้า!