Wednesday, May 05, 2021

I AM MALALA

ได้หนังสือมาอ่านอีกเล่ม พอดีผมไปเจอไฟล์อยู่ในฮาร์ดดิสก์ตัวเก่า สามารถคลิกขวาส่งเข้าไปเก็บไว้ใน Kindle ได้เลย...

 

เว็บสำนักพิมพ์มติชนเขียนว่า...
มาลาลา ยูซัฟไซ คือเด็กหญิงชาวปากีสถานที่ถูกตาลิบันยิงศีรษะเพียงเพราะเธออยากไปโรงเรียน สำหรับเธอแล้ว สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงโลกและปลดแอกผู้คนจากกรงขังทางความคิดคือการศึกษา ซึ่งทำได้โดย "เด็กหนึ่งคน ครูหนึ่งคน หนังสือหนึ่งเล่ม และปากกาหนึ่งด้าม"
หนังสือเล่มนี้เป็นผลพวงของความเชื่อของเธอที่ว่า ปากกาสามารถสู้กับปลายกระบอกปืนได้ เธอเขียนเรื่องราวของเธอ และอธิบายความไม่เท่าเทียมของมนุษย์ในปากีสถานให้ผู้คนได้รับรู้ ความตระหนักรู้จากผู้คนทั่วโลกนี้เอง ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความพยายามที่จะช่วยเหลือ และยกระดับสังคมในปากีสถาน
ถึงแม้เรื่องราวใน I AM MALALA จะเกิดขึ้นในปากีสถาน ซึ่งอาจจะดูไกลตัว แต่ประเด็นความคิดในหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย

วิกิพีเดียให้ข้อมูลไว้ว่า...

มะลาละห์ ยูซาฟไซ เกิด ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๐ เป็นเด็กนักเรียนจากเมืองมินโกราในเขตสวาท (Swat District) แคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา ประเทศปากีสถาน เธอเป็นที่รู้จักในการศึกษาและการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีของเธอในหุบเขาสวัด...
ขณะอายุได้ ๑๑ ยูซาฟไซกลายมาเป็นที่รู้จักผ่านบล็อกที่เธอเขียนให้แก่บีบีซีโดยรายละเอียดกล่าวถึงชีวิตของเธอภายใต้ระบอบฏอลิบาน ความพยายามของฏอลิบานในการเข้าควบคุมหุบเขา และมุมมองของเธอต่อการสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กหญิง ฤดูร้อนปีต่อมามีการถ่ายทำสารคดีของนิวยอร์กไทมส์ เกี่ยวกับชีวิตของเธอขณะที่กองทัพปากีสถานเข้าแทรกแซงในภูมิภาค ยูซาฟไซเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ให้สัมภาษณ์ในสื่อสิ่งพิมพ์และทางโทรทัศน์ และรับตำแหน่งประธานสภาเด็กเขตสวัด (District Child Assembly Swat) นับแต่นั้นเธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสันติภาพเด็กระหว่างประเทศโดยเดสมอนด์ ตูตู และได้รับรางวัลสันติภาพเยาวชนแห่งชาติเป็นคนแรกของปากีสถาน
วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ มะลาละห์ ยูซาฟซัยถูกยิงที่ศีรษะและคอในความพยายามลอบสังหารโดยมือปืนฏอลิบานขณะกำลังกลับบ้านบนรถโดยสารประจำทางโรงเรียน หลายวันหลังจากนั้น เธอยังหมดสติและอยู่ในภาวะวิกฤต จนถึงวันที่ ๑๕ ตุลาคม เธอถูกส่งตัวไปยังสหราชอาณาจักรเพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ มูลนิธิโนเบลได้ประกาศให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับไกลาศ สัตยาธี จากการต่อสู้ของเด็กเพื่อความถูกต้องของการศึกษาในเด็กทั้งหมด ถือเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัย ๑๗ ปี

 

ผมเคยไป Karachi มาแล้วครับ

 

ปี ๒๕๒๘... ตอนนั้นอยู่ในปากีสถาน ๕ วันเองครับ


 

แผนที่ปากีสถานยังเก็บไว้จนถึงวันนี้เลย 

 

คิดว่าถ้าไม่มีสถานการณ์ Kovid-19 มาขวางกั้นการเดินทางท่องเที่ยว ถ้านำจักรยานไปปั่นจาก Karachi ไป Swat ซึ่งอยู่ในตอนเหนือด้วยระยะทางประมาณ ๑,๖๐๐ กิโลเมตร น่าจะเป็นอีกเส้นทางนึงที่น่าสนใจและสามารถทำได้...

ผมนำภาพถนนหลวงจาก Google Street Views มาให้เพื่อน ๆ ดูเป็นตัวอย่างด้วย...

ภาพจาก Google Street Views - ขอขอบคุณ

เพื่อน ๆ ว่าผมจะกล้าปั่นจักรยานตามเส้นทางนี้ไหม?

No comments: