วันนี้...ยังขอคุยเกี่ยวกับการซ่อมไวโอลินและเชลโลตามประสา "ช่างเหอะ" ของผมครับ
ใน วิกิพีเดีย อธิบายถึง แกรไฟต์ (Graphite) ว่า "เป็นอัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago)
หรือแร่ดินสอดำ มีลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง
อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดำ เนื้ออ่อน เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี
มักใช้ทำไส้ดินสอดำ เบ้าหลอมโลหะ น้ำมันหล่อลื่นบางชนิด...."
ในการซ่อมเปียโน มีสารหล่อลื่นตัวหนึ่งซึ่งทำจากแกรไฟต์ผสมกับแอลกอฮอล์ ผมเคยซื้อมาจากอังกฤษ ๑ ขวด เป็นน้ำยาข้น ๆ มีส่วนผสมของแกรไฟต์ เวลาเอามือจับจะมีสีดำติดนิ้วเหมือนกับไปจับเอาผงถ่านหรือผงคาร์บอนที่ใช้วาดรูป เจ้า Graphite Lubricant ตัวนี้ใช้หยอดชิ้นส่วนบางชิ้นใน action เพื่อให้มีความลื่น คล่องตัว ไม่ติด หรือเกิดเสียงในขณะเคลื่อนไหว ตอนนี้ผมใช้หมดไปแล้วครับ...
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวของแกรไฟต์ ผมคิดว่ามันน่าจะช่วยทำให้สายไวโอลินหรือเชลโลขาดได้ยากขึ้น ดังนั้นทุกครั้งที่เปลี่ยนสาย...ผมจึงใช้ดินสอดำขีดลงในร่องของ nut และ หย่อง ซึ่งสายไวโอลินหรือเชลโลจะพาดผ่าน อย่างที่เห็นในภาพ
เท่าที่ผ่านมา...ผมรู้สึกว่าดินสอดำของ "ช่างเหอะ" ช่วยทำให้สายขาดได้ยากขึ้นนะ!
เพื่อน ๆ เห็นด้วยกับผมมั้ยครับว่า...ดินสอดำมิได้มีไว้เขียนเพียงอย่างเดียว!
No comments:
Post a Comment