วันก่อน บอกเพื่อน ๆ ว่าซ่อมตู้เย็นเสร็จแล้ว หลังจากเปิดทิ้งไว้ข้ามวันข้ามคืนตื่นเช้าผมพบว่ายังคงเย็นอยู่....คิดว่าตู้ใช้ได้แล้ว
ยกเอาตู้เย็นจากชั้นสามขึ้นมาตั้งแทนที่ตู้เย็นตัวที่ซ่อมเสร็จ...
จากนั้นก็ย้ายเจ้า Toshiba ลงไปไว้ข้างล่างให้พี่ชายใช้แทน...
เช้าวันนี้...ผมลงไปเช็คดูตู้เย็น
ใจเต้นแรงเมื่อเห็นว่าช่องฟรีซไม่เย็น รู้สึกผิดหวังกับการซ่อมของตัวเอง โทษว่าคงเป็นเพราะยกลงมาจากชั้นบนคนเดียวแล้วทำให้มันสะเทือน น้ำยาอาจจะรั่วออกเกือบหมดแล้วก็ได้!
เกือบท้อแท้หมดหวัง แต่ก็ต้องลองเช็คดูอีกที พบว่าพี่ชายไปทำให้ปลั๊กมันไม่แน่นกับเต้าเสียบ (คำเตือน - ไฟเดินไม่เรียบเป็นเหตุให้คอมฯ พังได้) ช่างเหอะรีบหาปลั๊กแบนมาสวมเสียบใหม่ให้แน่น...
เดินไฟแล้วได้ยินเสียงคอมเพรสเซอร์ทำงาน ไม่ช้าไม่นานช่องฟรีซก็เริ่มเย็น
ดีใจที่ไม่ต้องซ่อมอีก... มันเหนื่อยครับ!
Saturday, January 25, 2020
Friday, January 24, 2020
เปลี่ยนไส้กรอง PP
มาแล้ว... หุหุ มันมาไวกว่าที่คิด! เจ้า smog หมอกควันซึ่งปกคลุมท้องฟ้าเหนือห้างฉัตรนครเมืองอมรที่ผมเคยชมว่าน่าอยู่ (?)
ตอนนี้มองไปไม่เห็นภูเขาทางบ้านอาจารย์ไกรทองเลย! นั่นคือสัญญาณแห่งภัยพิบัติ ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันจะตามมาติด ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ควันพิษ แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ไฟป่า ภูเขาไฟระเบิด ใจวิปริต คนคิดชั่ว ฯลฯ เพื่อน ๆ เตรียมตัวรับมือกันให้ดีนะครับ...
ภัยแล้ง เริ่มส่งสัญญาณเตือน เมื่อประปาบ้านหัวหนองกลับมาปิดเปิดจ่ายน้ำให้เป็นเวลาอีกครั้ง หลังจากผ่านช่วงน้ำไหลดีมาได้ไม่นาน ถ้าถึงเดือนมีนา-เมษา น้ำไม่ไหลหลาย ๆ วัน เราจะทำอย่างไร? เป็นเรื่องที่น่าคิดครับ ควรเตรียมภาชนะใส่น้ำสำรองไว้เพื่อให้ใช้ได้นาน ๆ นอกจากนั้นยังต้องหาวิธีกรองน้ำสำหรับดื่มด้วย ถึงช่วงเวลาที่ผู้คนตื่นตะหนก (panic) รับรองว่าน้ำดื่มที่จำหน่ายตามห้างจะต้องหายเกลี้ยงไปจากชั้น มีเงินในมือเท่าไหร่ก็หาซื้อไม่ได้! ติดตั้งเครื่องกรองน้ำไว้นะครับ ถึงเวลาจะช่วยให้เรามีน้ำบริสุทธิ์ดื่ม วันนี้ผมจัดการเปลี่ยนไส้กรอง PP* ให้กับเครื่องกรองที่ติดตั้งไว้แล้ว...
--------------------------------------------------------------------------------
* ไส้กรองหยาบเซดิเมนท์ PP Filter ขนาด ๒๐ นิ้ว ความละเอียดในการกรอง ๑๐ ไมครอน ผลิตจากใยสังเคราะห์ Polymer ทำการดักจับกรวด ทราย หิน โคลน และสารแขวนลอยขนาดใหญ่ที่ปนเปื้อนมากับน้ำ เช่น เศษสนิมและผงฝุ่นจากท่อส่งน้ำ
ตัวกรองสีน้ำเงิน (1) ใส่เพิ่มเป็นพิเศษ ซื้อมาราคา ๒ ร้อยกว่าบาท ผมใส่ไว้กรองน้ำประปาก่อนส่งเข้าเครื่องกรอง ๕ ขั้นตอน (2)...
จะเห็นได้ว่าไส้กรองเก่านั้นสกปรกเอาการ เป็นความผิดของผมเอง น่าจะเปลี่ยนตั้งนานแล้ว!
มีไส้กรองติดบ้านไว้ก็ดีครับ...
ถอดครอบพลาสติกออกมาทำความสะอาด แล้วติดตั้งไส้กรองตัวใหม่...
ส่งท้ายด้วยภาพดอกไม้บนดาดฟ้าอีก ๒ บาน (ใช้ PS ปรับสีท้องฟ้าให้ดีขึ้นหน่อย)...
ไว้สู้กับความหดหู่กับอากาศที่หายใจไม่คล่องปอดในระยะนี้ครับ...
Thursday, January 23, 2020
ซ่อมตู้เย็นเสร็จแล้ว
ลงมือทำอีกครั้ง ผมต้องซ่อมหัวยิงแก๊สก่อน ด้วยการใช้เศษท่อทองแดงใส่แทนหัวที่หลุดออกไป...
ก็แค่พอใช้ได้ แม้เปลวไฟจะออกมาไม่รวมจุดแต่ก็ช่วยให้ผมรนจนลวดเชื่อมละลายแล้วใช้ปลายมีดอัดเข้าไปในรู จากนั้นก็โปะเข้าไปอีก จนคิดว่าน่าจะไม่รั่วแล้ว ผมเริ่มมั่นใจหลังจากเดินเครื่องแล้วทดสอบด้วยน้ำสบู่ไม่ปรากฏฟอง...
พอดีผมต้องผสมกาวอีพ็อกซี (epoxy glue) เพื่อใช้ติดรอยแตกของลิ้นชักใต้ช่องฟรีซตู้เย็น ก็เลยเอาส่วนผสมที่เหลือมาทาทับบนแผลที่เชื่อมเอาไว้...
ปล่อยทิ้งไว้ ๒๔ ชั่วโมงแล้วค่อยทำความสะอาด...
น่าจะไม่รั่วแล้วมั้ง? ผมเริ่มขบวนเติมน้ำยาอีกครั้ง...
ลืมบอกไปว่าต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเติมน้ำยาซึ่งเอาอย่างถูกสุดเลยดังนี้...
- เกจวัดและเติมน้ำยาพร้อมสาย ๒ เส้น เอาแบบหัวเดียวถูกสุด (ราคา ๔๙๙ บาท)
- น้ำยาแอร์ R134A ขนาด ๑,๐๐๐ กรัม พร้อมหัวเปิดน้ำยา (ราคา ๒๘๙ บาท)
เกจเติมน้ำยา - ภาพจาก shopee.co.th (ขอขอบคุณ) |
ทีนี้ก็ต้องมีเจ้าเครื่องแวคคั่มสำหรับใช้ดูดอากาศออกจากระบบ ก่อนเติมน้ำยาตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศ
เครื่องแวคคั่ม - ภาพจาก shopee.co.th (ขอขอบคุณ) |
แล้วก็มีจริง ๆ ผมต่อสายมาใช้เป็นเครื่องดูดอากาศ เดินเครื่องจนเข็มวัดแรงดันลดลงเป็น 30 psi จากนั้นก็เติมน้ำยาตามขั้นตอนของมัน ให้คอมฯ ทำงานแล้วเปิดน้ำยาอีก ๒-๓ ครั้งจนเข็มนิ่ง ไม่นานนักตู้เย็นก็เริ่มเย็น...
ไม่รู้ว่าน้ำยาจะรั่วออกอีกหรือเปล่า? ผมเก็บเครื่องมือและของเหลือใช้ งานนี้หมดไปเป็นพัน แต่ก็เหลือของเก็บเอาไว้ใช้งานได้อีกหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาสำหรับเติมตู้เย็น เครื่องปรับอากาศบ้านและรถยนต์ ส่วนเครื่องมือก็ใช้ตรวจเช็คน้ำยาแอร์ได้...ไม่ต้องเรียกช่าง หรือจะซื้อแอร์ใหม่เป็นชุดมาติดตั้งเองก็น่าจะทำได้!
เห็นว่าตู้เย็นทำงานแล้ว ผมก็จัดการล้างทำความสะอาด...
ประกอบแล้ว...
ไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะเย็นอีกนานแค่ไหน? อิอิ
Wednesday, January 22, 2020
ทั้งสำเร็จและล้มเหลว
วันก่อนผมเขียนเรื่อง "ซ่อมตู้เย็น - ช่วยเขกหัวผมที" บอกว่าต้องรอให้ได้ลวดเชื่อมอลูมิเนียมทองแดงที่สั่งจากเมืองจีนเสียก่อน ถึงจะได้ทดลองเชื่อมอุดรูรั่วบนแผงทำความเย็น...
วันนี้ลวดเชื่อมมาแล้วครับ...
มีฟลักซ์ในตัวด้วย...
อยากจะเล่าถึงประสบการณ์สักหน่อย ก่อนอื่นก็ต้องยอมรับว่าไม่เคยทำงานเชื่อมแบบนี้เลย เคยแต่บัดกรีโดยใช้หัวแร้งและตะกั่วตอนซ่อมวิทยุต่อแอมป์ฯ เชื่อมเหล็กก็ไม่เป็น หุหุ ดันจะมาคิดเชื่อมอลูมิเนียมโดยใช้ปืนยิงแก๊สราคา ๘๐ บาท...
ใคร ๆ ก็บอกว่าเชื่อมช่อง freeze เป็นเรื่องยากสำหรับช่างมือใหม่ ผมลองทำดูแล้ว ต้องยอมรับว่ากว่าจะทำได้ก็สิ้นเปลืองทั้งเวลา แก๊ส และลวดเชื่อม เสร็จแล้วทดสอบด้วยฟองสบู่ ทีแรกก็ไม่เห็นมีอะไร ผมเติมน้ำยาแล้วเดินเครื่อง ช่องฟรีซเย็นขึ้นมา แต่ดีใจได้ไม่นานก็ต้องเศร้า เพราะน้ำยารั่วออกมาตามตามด ในที่สุดที่เติมเต็มไว้ก็หายหมด!...
แผงทำความเย็นเชื่อมยากเพราะมีสีเคลือบ (แม้จะทำความสะอาดแล้วก็ตาม) อีกประการคือต้องเชื่อมในพื้นที่ที่มืดและแคบ นอกจากนั้นเจ้า flame gun ราคาถูกที่ผมใช้ก็ไม่เหมาะ ลวดเชื่อมก็คงไม่ใช่อย่างดี เชื่อมไปเชื่อมมา...ในที่สุดปืนก็พัง
มันเหมาะสำหรับงานครัวมากกว่าครับ จริง ๆ แล้วควรใช้เครื่องเชื่อมแก๊สที่มีประสิทธิภาพที่ช่างอาชีพใช้ หรือไม่ก็เอาเป็นแบบนี้ก็ยังดี...
ซ่อมตู้เย็นครั้งนี้ ผมต้องตัดต่อท่อเติมน้ำยาของคอมเพรสเซอร์ด้วยครับ...
เวรกรรมอีกแย้ว...ช่างเหอะไม่มีที่ตัดท่อทองแดงแบบที่เค้าใช้กัน!
ภาพจาก mounbumrungsil-air.blogspot.com (ขอขอบคุณ) |
ต้องเอาเลื่อยตัดกิ่งไม้มาตัด เพื่อต่อด้วยเจ้าตัวนี้...
มันคือวาล์วลูกศรขนาด ๑/๔ นิ้ว (ซื้อมาตัวละ ๑๕ บาท) สวมเข้าด้วยกันแล้วเชื่อมด้วยลวดเชื่อมโดยใช้ปืนยิงแก๊ส อันนี้จะเชื่อมได้ง่ายหน่อย เพราะมีพื้นที่ทำงานกว้าง ไม่ต้องกลัวด้วยว่าไฟแรงจะทำให้ชิ้นงานทะลุ (เวลาเชื่อมเอาผ้าชุบน้ำชุ่ม ๆ มาวางกันไว้รอบ ๆ ด้วยนะ) ไม่ยากครับ เผาด้วยปืนไฟแล้วใช้ลวดเชื่อมแหย่เข้าไป มันก็ละลายไหลเข้ายึดประสานท่อทองแดง...
ที่เห็นสีขาว ๆ คือครีมอาบน้ำที่เอามาทดสอบว่ารั่วหรือเปล่า? ถ้าไม่มีฟองอากาศผุดขึ้นมาก็น่าจะใช้ได้...
เชื่อมท่อเติมน้ำยาประสบความสำเร็จ แต่ช่องฟรีซยังคงล้มเหลวครับ! หัวพ่นแก๊สก็พังไปแย้ว...
Labels:
DIY,
งานช่อง,
ช่องฟริซ,
ช่างเหอะ,
ซ่อมตู้เย็น,
ตามด,
วาล์วลูกศร,
หัวพ่นแก๊ส
Tuesday, January 21, 2020
with all my best wishes
ภาพจาก postcard ที่ผมซื้อส่งให้เพื่อน.... |
ท้องฟ้าปกคลุมด้วยหมอกควัน เป็นอีกวันนึงที่ผมมองไม่เห็นภาพภูเขาสวยงามทางด้านทิศเหนือ มีแต่เจ้าไดโนเสาร์ยังคงยืนอยู่ข้างโกดังโรงสี มันไม่ยอมเคลื่อนไหวยามไร้ลม
หัวเข่าข้างขวายังคงสร้างปัญหาให้เป็นพัก ๆ วันดีคืนดีมันก็เกิดอาการเอ็นสะแม้ง (เส้นพลิก) จนผมเดินไม่ได้
คิดถึงการเดินทางครั้งสุดท้าย (final trip) ที่ตั้งใจว่าจะไปตั้งเต็นท์นอนรอนแรมไปจนถึงนิวซีแลนด์ ถ้าหัวเข่าไม่ดีอย่างนี้ผมจะทำอย่างไร?
ภาพตั้งเต็นท์นอนที่ campsite ใน Australia |
ทุกวันนี้ไม่สามารถออกไปซ้อมปั่นจักรยานหรือวิ่งเหมือนแต่ก่อน แต่ผมก็มีวิธีที่จะออกกำลังกล้ามเนื้อพอมิให้ร่างกายทรุดโทรมลงเร็วเกินไป...
ต้องล้างผักและล้างชามมากมายในแต่ละวัน
แทนที่จะปล่อยน้ำทิ้งลงไปเปล่า ๆ ผมก็เทมันลงถังที่เตรียมไว้...
พอได้เต็มถัง ก็ค่อย ๆ หิ้วเดินขึ้นบันไดไปบนดาดฟ้า...
นำไปรดให้กับต้นไม้ที่ปลูกไว้...
เพียงแต่ต้องระวังเวลาขึ้นลง ผมใช้มือนึงหิ้วถัง อีกมือยึดราวบันไดให้มั่น การเดินหิ้วน้ำขึ้นไปบนดาดฟ้าวันละกว่า ๑๐ รอบทำให้ได้ออกกำลังโดยไม่ต้องไปวิ่งหรือปั่นจักรยาน นอกจากนั้นยังประหยัดน้ำที่ใช้รดต้นไม้ได้อีกวันละ ๑๐ ถังเป็นอย่างน้อย...
อีกไม่กี่เดือนก็ต้องเจอกับสภาวะขาดแคลนน้ำกันแล้ว... เพื่อน ๆ เตรียมพร้อมหรือยังครับ?
Subscribe to:
Posts (Atom)