สมองเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่น่ากลัว ผมได้รับแผ่นพับมาอีก ๑ ฉบับ เป็นเรื่องของ "อาหารสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ" จัดทำโดยฝ่ายโภชนาการโรงพยาบาลศิริราชร่วมกับโครงการภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย "สทท"
อาหารสำหรับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมีความต้องการอาหารลดน้อยลง แต่ความต้องการสารอาหารอื่น ๆ ยังคงเท่าเดิม ดังนั้นอาหารควรจัดให้มีปริมาณสารอาหารที่ครบถ้วนคุณภาพเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย คือ ครบทั้ง 5 หมู่
หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ
- เนื้อสัตว์ ควรเลือกบริโภคที่ย่อยง่าย บด/สับ ละเอียด หรือต้มให้เปื่อยนุ่ม มื้อละ 4-6 ช้อน
- ไข่ เป็นอาหารที่มีความเหมาะสม ย่อยและดูดซึมได้ดี เคี้ยวง่าย ควรบริโภคทั้งฟองสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง ถ้ามีภาวะไขมันสูง รับประทานเฉพาะไข่ขาว หรือใช้วิธีผสมไข่ขาว 2 ฟองกับไข่แดง 1 ฟอง
- นม เป็นอาหารที่มีโปรตีน และแคลเซียมสูง ควรดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมถั่วเหลืองวันละ 1-2 แก้ว
- ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง ราคาถูก หาได้ง่าย ควรต้มสุกให้เปี่อยนุ่ม
หมู่ที่ 2 ข้าวแป้ง น้ำตาล ธัญพืช เผือก มัน
ปริมาณที่ควรรับประทาน ข้าวมือละ 2 ทัพพี วันละ 6-8 ทัพพี
หมู่ที่ 3 ผักประเภทต่าง ๆ ใบเขียว ผักสีต่าง ๆ
เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุมีกากใยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย รับประทานวันละ 4-6 ทัพพี
หมู่ที่ 4 ผลไม้เป็นแหล่งวิตามิน เกลือแร่
ผลไม้เนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย เช่น มะละกอ กล้วย ส้ม หรือน้ำผลไม้คั้นสด วันละ 3-4 ส่วน
หมู่ที่ 5 ไขมันจากพืชและสัตว์
เป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานและช่วยดูดซึมวิตามิน
อาหารสมอง...ป้องกันโรคขี้ลืมกับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุสามารถที่จะมีความคิดและความจำดีกว่าคนอายุน้อย เพราะความตื่นตัวและความคมชัดของสมองอาจไม่เสื่อมลงตามวัย จากการวิจัยรายงานผลว่า การออกกำลังกายหรือการใช้สมอง ใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลา mental exercise รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยลดหรือชะลอความเสื่อมของเซลล์ในสมอง และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ระบบประสาทที่สมองและไขสันหลัง สั่งการให้ร่างกายรับรู้ เคลื่อนไหว จดจำ และรู้สึก โดยผ่านทางเซลล์ประสาทนั้น อาศัยสารมากกว่า 60 ชนิด ที่เรียกว่าสารสื่อประสาท ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณด้วย เช่น
- เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ทำให้รู้สึกโล่งสบาย
- เชโรโทนิน (Serotonin) ควบคุมการนอนหลับ และความกังวลใจ
- โพรแอนโทรโชนีดิน (Proanthocyanidins) เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองและรับออกซิเจนได้มากขึ้น และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาทอีกด้วย พบมากในช็อคโกแลต แต่ต้องเป็นชนิดดำ ๆ ที่มีเนื้อโกโก้ไม่น้อยกว่า 80%
- อเซทิลโคลิน (Acetylcholine) ช่วยรักษาความจำและสติปัญญา ลดอาการขี้ลืม ซึมเศร้า และสมองที่ไม่ตื่นตัว กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือหน้าที่การงาน โดยอาหารที่ช่วยเพิ่มพลังสมองเกิดจากระบบประสาทที่มีการเชื่อมโยงที่บกพร่อง อาจมีสารสื่อประสาทน้อยเกินไป สมองสร้างสื่อประสาท อเซทิลโคลินจากสารโคลินลักษณะคล้ายไขมัน จากการวิจัยพบว่า ผู้มีอเซทิลโคลินน้อยและมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ถ้าร่างกายได้รับสารโคลินมาก จะช่วยให้ความจำดีขึ้น อาจมีสารโคลินมากได้แก่ จมูกข้าวสาลี ไข่แดง ตับวัว เครื่องในสัตว์ นมสด ถั่วลิสง ข้าวกล้อง ธัญพืชต่าง ๆ มันฝรั่ง กะหล่ำปลี กล้วย ฯลฯ
หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับอาหารของผู้สูงอายุ
- ทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย คือ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ทานอาหารให้น้อยแต่บ่อยครั้ง (วันละ 5-6 ครั้ง)
- ลักษณะอาหารอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย
- ควรทานกับน้ำซุปร้อน ๆ
- ควรทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ ๆ
- ไม่ท่านอาหารรสจัด หมักดอง
- ควรทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำ
- งดเครื่องดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่
- ดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีอย่างสม่ำเสมอ
ยกตัวอย่างอาหารผู้สูงอายุ...
สัมผัสที่อบอุ่นจะช่วยให้สุขภาพดีทั้งกายใจ...