นอกจากส้อมเสียงแล้ว เครื่องมือที่ใช้ก็มีเท่าที่เห็นในภาพ...
อุปกรณ์สำคัญที่จะขาดไม่ได้คือ แถบผ้าสักหลาดสำหรับตั้งสายเปียโน (Felt Temperament Strip) อย่างที่ครูต้นกำลังถือให้ดู...
วันที่ไปตั้งสายเปียโนให้ครูแต้ม...ผมก็ใช้ Felt Temperament Strip อย่างที่เห็นในภาพ...
ไม่มีเครื่องมืออีเลคทรอนิคส์...คุณตาคุณลุงยุคนั้นต้องใช้หูลูกเดียว! ถ้าเป็น F-F Octave Temperament setting เค้าจะเริ่มต้นตั้งสายที่ Middle C ก่อน โดยเทียบกับส้อมเสียง แต่ถ้าไม่ประสงค์จะขึ้นเสียงให้ได้มาตรฐาน...จะเริ่มจากระดับเสียงที่เป็นอยู่ก็ได้
จาก C แล้วตั้งตัวไหนต่อล่ะ? ตั้ง F ที่อยู่ต่ำลงมาจาก middle C ไงครับ เค้าเรียกว่า "คู่ 5" ก็ใส่ค้อน (tuning hammer) เข้าที่ tuning pin สายกลาง (ดูให้ดีนะ อย่าใส่ผิด...สายขาดแล้วจะหาว่าไม่บอก) แล้วปรับเสียง F ให้ตรง แล้วเจ้าเสียง F นั่นจะอยู่ระดับไหน...ถึงจะเรียกว่าตรงล่ะ? นี่ไงเป็นเรื่องที่ต้องฝึก!
ก่อนอื่นต้องสามารถตั้ง perfect fifth ให้ได้ก่อน กล่าวคือ ช่างเปียโนต้องรู้ว่าคู่ระยะ (interval) ของเสียง "โด่-ซอล" หรือ "ฟ่า-โด้" นั้นอยู่ในตรงไหน (ฟังออก...ว่างั้นเหอะ) พอขยับค้อนตั้งสายไปถึงจุด ๆ หนึ่ง เจ้า beat frequency หายไป ตรงนั้นแหละคือ Perfect
อ้าว...แล้ว beat frequency คืออะไรล่ะ? โฮ้ย! ยุ่งจริงน้อ! ตอบแบบชาวบ้านก็คือ เจ้าเสียง "ว้อง ๆๆๆ" ที่ได้ยินเวลาเสียง ๒ เสียงมันไม่เป็น unison, octave หรือ perfect ไง! ยิ่งห่างกัน...มันยิ่ง "ว้องๆๆๆ" เร็ว พอเข้าใกล้ มันก็ร้อง "ว้อง ๆ ๆ ๆ" ช้าลง พอตรงปั๊บ..หายไปเลย เป็นเรื่องที่ต้องฝึกปฏิบัติครับ ถ้ายังฟัง beat frequency ไม่ออก...ก็อย่าได้คิดตั้งสายเปียโน!
เอาหละ...ผมขอยกตัวอย่างเพียงเสียงเดียวหรือขั้นตอนเดียว คือการตั้งเสียง F ให้ตรงตาม equal temparament scale มือจับอยู่ที่ด้ามค้อนแล้วใช่ไหมครับ? ขยับหาจนได้ตำแหน่ง Perfect คือไม่มีเสียง "ว้อง ๆ" จากนั้นก็หมุน tuning pin ไปตามเข็มนาฬิกา เจ้า "ว้อง ๆ" ก็จะปรากฏให้ได้ยิน ขึ้นสายให้สูงขึ้นไปหน่อยก่อน...จนได้ยิน beat frequency "ว้องๆๆๆๆๆ" จากนั้นก็ขยับลงมาจนเจ้า "ว้อง ๆ ๆ" เหลือ ๓ ครั้งใน ๕ วินาที
ตรงนี้แหละที่ต้องฝึก....."๓ ว้อง..ภายใน ๕ วินาที" Practise makes perfect ครับ!!
ที่กล่าวมานั้น...คือตัวอย่างของการตั้งเสียงด้วยหู (by ear) จริง ๆ
แต่พอเข้ายุคที่เครื่องมืออีเลคทรอนิคส์มีให้ใช้ มันสามารถวัดค่าได้ละเอียดและแสดงค่าบน display ได้อย่างแม่นยำ ช่างเปียโนส่วนใหญ่จึงได้หันไปใช้เครื่องมือเหล่านั้น แทนการใช้หูแต่เพียงอย่างเดียว ช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้นครับ!!!
วันนี้ผมจึงอยากแนะนำ software ที่ช่วยเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือแบบ smart phone, iPhone, iPad, iPod, pocket PC, laptop, table, netbook หรือ notebook อะไรก็ได้...ให้กลายเป็น Chromatic tuner ประสิทธิภาพสูงได้อย่างง่ายดาย
TuneLab เป็น software ซึ่งพัฒนาโดยตา Robert Scott นำมาใช้กับการตั้งสายเปียโนหรือตั้งเสียงเครื่องดนตรีอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้พรี แม้ว่าจะเป็น shareware ที่ต้องจ่ายเงินอีกประมาณ ๓๐๐ เหรียญเพื่อใช้ได้อย่างสมบูรณ์ แต่เจ้า free version ที่ผมดาวน์โหลดมาใส่ไว้ใน PDA Phone ยี่ห้อ iPAQ (ประมูลมาในราคาพันกว่าบาทเพื่อใช้งานนี้เป็นพิเศษ) ก็สามารถใช้งานได้ดี ไม่มีปัญหาติดขัดเลยแม้แต่น้อย
ที่เห็นในภาพ...กำลังวัดเสียง A4 โดยผ่านไมโครโฟนของโทรศัพท์ ผมแค่วางเครื่องไว้อย่างนั้น แล้วเคาะที่โน้ต A มันก็อ่านให้เลย แสดงผลทั้งแบบ phase display คือเจ้าแถบสี่เหลี่ยมดำ ๆ ที่เห็นนั่น มันจะวิ่งเร็ว...เมื่อเสียงยังไม่ตรง พอตรงก็จะหยุด (คล้าย ๆ กับการพัง beat frequency) และแบบ spectrum display ซึ่งเป็นกราฟปลายแหลม ที่เห็นนั่นมันยังชี้ไม่ตรงเส้นแดงตรงกลาง แสดงว่าเสียงยังต่ำไปนิดนึง ถ้าเราปรับค้อนหมุน tuning pin ตามเข็มนาฬิกาจนเสียงขยับขึ้นตรง ปลายแหลมนั่นก็จะเลื่อนไปชี้ตรงเส้นแดงพอดี แต่ถ้าสูงเกิน...ยอดแหลมก็จะเลื่อนเกินเส้นแดงไปทางขวา ง่ายมากครับ สามารถอ่านได้ดีแม้ในย่านความถี่ต่ำมาก ๆ หรือสูงมาก ๆ การเปลี่ยน octave หรือเปลี่ยนโน้ต...ก็ทำได้ง่ายด้วยวิธีสัมผัสที่หน้าจอ
ขนาดผมติดตั้งกับ PDA Phone เก่า ๆ อย่างที่เห็น...ก็ยังใช้งานได้สบาย ถ้าเป็น iPhone หรือไอผกไอแพด(ซึ่งผมไม่มีปัญญาซื้อหามาใช้) ก็ยิ่งจะสะดวกและใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น! คุณ Ryan Hasell ได้เขียนถึง TuneLab (ฟรีเวอร์ชั่น) ไว้ว่า...
"Thank you for such a GREAT product!....I downloaded the free version of Tunelab an started tuning with it.....I told [my mentor] about the program, showed him how it works, and even tuned his personal piano. He was so impressed that he has downloaded the trial version and has begun using it too. After using the trial version, I decided that it was well worth the money to pay for the program. I have around 60 customers now, and 100% of them have been pleased with the tuning of their piano, some of these are even well-renowned piano teachers/pianists/music teachers in my area (One in particular was our Missouri Music Educators Assoc President for the state of MO last year). Most are amazed at how Tunelab changes the sound of their piano, giving it a warm, rich tone."มี options ในการใช้งานมากมาย ผมไม่ขอบรรยายความ ถ้าเพื่อน ๆ สนใจที่จะโหลดมาใช้ ก็ไปหาได้ที่ http://www.tunelab-world.com/downloads.html เลือกโหลดให้ตรงกับอุปกรณ์ที่มีอยู่นะครับ ไฟล์ไม่ใหญ่...ดาวน์โหลดแค่แป๊ปเดียว
ได้มาแล้วก็ติดตั้งเพื่อนำไปใช้งานได้เลย ถ้าเป็น iPad ผมว่าเท่ห์เป็นบ้าเลย! แล้วอย่าลืมดาวน์โหลดคู่มือซึ่งเป็น PDF ไว้ศึกษาวิธีใช้งานมาด้วยนะครับ....
ใน YouTube ก็มีคลิปสอนการใช้ TuneLab ให้ได้ศึกษา...
การ setting the Equal Temperament ทำได้ไม่ยากแล้วใช่ไหมครับ? แต่ยังก่อน...สิ่งที่ยากและเป็นปัญหาใหญ่ก็คือ...จะทำอย่างไรให้ tuning pin ไม่คืนตัวง่ายซึ่งเป็นผลทำให้เสียงที่ตั้งได้ที่แล้วลดลงอย่างรวดเร็ว!!! ตอนนี้เราสามารถตั้งเสียงให้ตรงได้แล้ว แต่จะให้มันอยู่ได้นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพของ tuning pins และเทคนิคในการตั้งสาย...
ประสบการณ์จะช่วยสอนให้เองครับ!
2 comments:
สวัสดีครับลุงน้ำชา ไม่รู้ว่ายังจำผมได้รึเปล่าพอดีผมต้องไปทำอะไรๆหลายๆอย่าง ไม่ค่อยได้จับเรื่องจูนเปียโนเลย
โปรแกรมนี้คิดว่าใช้ได้ดีมากเลยครับ แต่ช่วงสุดท้ายในการจูนตรงเสียเริ่มวิ่งช้า ยังไงก็ต้องใช้หูอยู่ดี 555+ แต่จะสะดวกตรงที่ไปเสียงสูง-ต่ำมากๆแล้วหูฟังไม่ค่อยออกโปรแกรมช่วยได้มากเลยครับ
ปัจจุบันผมก็ยังมีปัญหาในการจูนเรื่องสายคลายตัวหลังจากจูนเสร็จอยู่ดี เคาะแรงๆหลายๆทีจนเล็บฉีกก็ยังเอาไม่อยู่สงสัยฝีมือยังไม่ถึงขั้นจริงๆ > <
สวัสดีครับ...
รู้สึกดีใจมาก ๆ ที่เห็น comment จากคุณ yakezer
เรื่องสายคลายตัว นอกจากเป็นเพราะเทคนิคในการตั้งเสียงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสภาพของเปียโนด้วย บางครั้งเครื่องที่เก่ามาก ๆ ก็เอาไม่อยู่เหมือนกัน (แม้จะใช้น้ำยาพินไทท์เข้าช่วยก็ตาม)
เปียโนที่มีราคาแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะความสามารถในการคงสภาพเสียงที่ต่างกันด้วยครับ
อย่าคิดว่าตัวเองฝีมือไม่ถึงขั้นเลยครับ :)
Post a Comment