จริง ๆ แล้ว ผมอยากให้เพื่อน ๆ ได้อ่านเรื่องราวดี ๆ ที่ครูสง่า อารัมภีร ได้เขียนไว้ทั้งหมด แต่มันยาวเกินกว่าที่จะหยิบยกมาไว้ที่นี่ สำหรับวันนี้เพียงเพื่อกระตุ้นความกระหายของเพื่อน ๆ ให้อยากอ่านต่อ ผมขอคัดอรัมภบทเกี่ยวกับที่มาของเพลง “น้ำตาแสงไต้” พร้อมกับโน้ตเพลงมาลงไว้
ครูแจ๋ว หรือ สง่า อารัมภีร ได้เขียนไว้เกี่ยวกับเพลงน้ำตาแสงไต้ว่า...
“ข้าพเจ้าจำได้แม่นยำว่าวันนั้น ในราวเดือนพฤศจิกายน ๒๕๘๘ ซึ่งเป็นเวลาเกือบ ๗ ปีแล้ว “ศิวารมณ์” กำลังซ้อมละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์อยู่ที่ห้องเล็กเฉลิมกรุง ดูเหมือนจะเข้าโปรแกรมในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน เราซ้อมกันอย่างหนักทุกวัน เพราะเวลานั้นเป็นสมัยที่เริ่มงานกันใหม่ ๆ หรือจะเรียกว่ากำลังฟิตก็ได้ สมัยนั้นเป็นสมัยที่ทุก ๆ คนกำลังก้าวขึ้นสู่การเป็นดารากำลังก้าวขึ้นสู่ความนิยมของประชาชน สุรสิทธิ์, จอก, สมพงษ์ และทุก ๆ คนมาซ้อมตั้งแต่เช้าจนเย็นทุกวัน (ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้เลย เช้าไม่มา เย็นไม่มา ไม่รู้ไปไหนกันแฮะ) เนรมิต มารุต สมัยนั้นเข้าคู่กันคร่ำเครียดกับบทและวางแคแร็คเตอร์ตัวละครกันเป็นการใหญ่ นาฏศิลป์ก็ซ้อมกันไป เต้นกันไป นักร้องก็ร้องกันไป เสียงแซ่ดไปหมดบนห้องเล็กเฉลิมกรุง ตั้งแต่ ๙.๐๐ น. ถึง ๑๕.๓๐ น. ทุกวันสำหรับเรื่องที่ครูแจ๋วเขียนถึงที่มาของเพลง “น้ำตาแสงไต้” ยังมีต่ออีก ๑๐ กว่าหน้า น่าสนใจมาก ๆ ครับ…
ตอนนั้นข้าพเจ้ามีหน้าที่แต่เพียงดีดเปียนโนสำหรับให้นาฏศิลป์เขาซ้อม และต่อเพลงให้กับนักร้องเท่านั้น ผู้แต่งเพลงให้ศิวารมณ์สมัยนั้นคือ ประกิจ วาทยากร และ โพธิ ชูประดิษฐ์ ข้าพเจ้าเพิ่งเป็นนักดนตรีใหม่ ๆ ยังไม่ถึงปีเลย เพลงก็ยังแต่งกับเขาไม่เป็น และยังไม่เคยคิดเลยว่าจะแต่งกับเขาได้ยังไง ได้แต่ดูเขาแต่งกันเท่านั้น วันหนึ่ง ๆ ก็ได้แต่ดีดเปียนโนจนเมื่อยนิ้วไปหมด
เหลือเวลาอีก ๕ วัน ละครก็จะแสดงแล้ว ปรากฏว่าเพลงเอกของเรื่องคือเพลง “น้ำตาแสงไต้” ทำนองยังไม่เสร็จ ทั้งคุณประกิจและคุณโพธิแต่งส่งมาคนละเพลงสองเพลง ก็ยังไม่เป็นที่พอใจแก่เจ้าของเรื่องและผู้กำกับ ทั้งเจ้าของเรื่องและผู้กำกับต้องการจะให้เป็นเพลงที่มีสำเนียงเป็นไทยแท้ มีรสวิญญาณไปในทาง “หวานเย็นและเศร้า” เพลงของคุณประกิจที่ส่งมามีสำเนียงกระเดียดไปทางฝรั่ง ของคุณโพธิก็ไปกลาง ๆ คือครึ่งไทยครึ่งฝรั่ง ล่วงมาอีกหนึ่งวัน ทำนอง “น้ำตาแสงไต้” ก็ยังไม่เสร็จ เจ้าของเรื่องผู้กำกับตลอดจนผู้ร่วมงานต่างก็อึดอัดไปตาม ๆ กัน
เย็นนั้นเมื่อเลิกการซ้อมแล้ว ข้าพเจ้าก็พลอยอึดอัดและกลุ้มใจไปกับเขาด้วย ในเมื่อด้านอื่นเขาเสร็จกันเรียบร้อยแล้ว ยังอยู่เพลง “น้ำตาแสงไต้” เพลงเดียวเท่านั้น และใครก็รับรองไม่ได้ด้วยว่าเมื่อคุณประกิจและคุณโพธิแต่งมาอีกจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าของเรื่องและผู้กำกับหรือไม่ เมื่อถึงเวลาภารโรงมาปิดห้องซ้อม ข้าพเจ้าก็ลงมาเก้ ๆ กัง ๆ อยู่หน้าเฉลิมกรุง ไม่รู้จะไปไหนดีดี มันงงไปหมด….”
เมื่อวานนี้ท่านผู้พันมือ fiddle ได้แวะมาเยี่ยมเยียนผมที่บ้าน ก่อนที่จะขับปิคอัพขึ้นเชียงใหม่ ผมจึงได้ขอความกรุณาจากท่านให้ช่วยพาไปซื้อไม้อัด ๔ มิล จำนวน ๕ แผ่น ที่ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างซึ่งอยู่ใกล้ ๆ ปรากฏว่าราคาไม้อัดแพงขึ้นอีก 5% ครั้งที่แล้วผมซื้อแผ่นละ ๑๘๐ บาท ตรั้งนี้ต้องจ่ายเพิ่มเป็น ๒๐๐ บาท พอผมบ่น เจ้าของร้านก็บอกว่าอะไร ๆ ก็แพง จะให้มันราคาคงเดิมได้อย่างไร ผมอดคิดไม่ได้ว่าไม้อัดที่อยู่ในโกดังนับร้อย ๆ แผ่นนั่น อยู่ดี ๆ ก็ราคาเพิ่มขึ้นแผ่นละ ๒๐ บาท หุหุ ไม่ซื้อก็ไม่ได้ครับ ต้องลุยงานกั้นห้องให้เสร็จ ผมกัดฟันจ่ายเงิน ๑ พันบาทให้พ่อค้าไป ได้ไม้อัด ๕ แผ่นใส่หลังรถปิคอัพของท่านผู้พันฯ กลับบ้าน…
นอกจากจะช่วยพาผมไปซื้อไม้อัดแล้ว ท่านผู้พันฯ ยังเล่าประสบการณ์ที่มีมากมายในอดึต แล้วยังสาธิตการสีไวโอลินแนว bluegrass และแนวไทยเดิมให้ผมฟังด้วย มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ท่านผู้พันฯ หยิบไวโอลินตัวใหม่ของน้องม่าเหมี่ยวขึ้นดู แล้วบอกว่าจากประสบการณ์ที่เล่นไวโอลินมานาน คิดว่าไวโอลินตัวนี้น่าจะมีค่าไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท
ขอขอบคุณท่านผู้พันมือ fiddle ที่ช่วยให้ผมสามารถทำงานกั้นห้องต่อได้ในวันนี้….
ผ่านไปแล้วอีก ๑ วัน...
No comments:
Post a Comment